วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ทำเลบ้านแบบใดจึงเรียกว่าดี


การเลือกทำเลให้ถูกใจ ต้องมีอะไรบ้าง
“ทำเล” เป็น หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่สุดที่ใช้ในการเลือกที่อยู่อาศัย  ปกติแล้วคนเรามักเลือกทำเล โดยอาศัยความคุ้นเคยที่มีกับทำเลมาก่อนเป็นสำคัญ  อาจมาจากความที่เคยอยู่ในบริเวณนั้นมาก่อน หรือเคยมาทำธุระส่วนตัวในบริเวณนั้นเป็นประจำ ซึ่งเทคนิคการเลือกทำเลเช่นว่านี้ จัดเป็นเทคนิคที่ไม่เหมาะสมในการนำไปปฏิบัติ โดยคุณควรจะพิจารณาองค์ประกอบของทำเลดังนี้

1. สภาพภูมิอากาศ
ได้แก่อุณหภูมิ ปริมาณฝน หมอก ความชื้น และทิศทางลม เป็นต้น ประเด็นนี้ความจริงเกี่ยวพันมากกับการอยู่อาศัยทั้งในแง่ของภาวะอารมณ์และสุขภาพ รวมถึงความสะดวกในการทำกิจกรรมนอกบ้าน   การไปสำรวจทำเลด้วยตัวเอง เพื่อสัมผัสภูมิอากาศ หลายๆ ครั้ง ในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน  วิธีนี้จะทำให้คุณทราบข้อมูลเหล่านี้ได้ดีกว่าวิธีสอบถามจากคน อื่น
2. กิจกรรมต่างๆ ในท้องถิ่น 
กิจกรรมต่าง ๆ เช่น สนามกอล์ฟ สนามเทนนิส บ่อตกปลา สนามขี่ม้า สระว่ายน้ำ ทะเลสาบคลองพายเรือ ชายหาด พื้นที่ดูนก และสถานออกกำลังกาย  ในเรื่องการเปรียบเทียบทำเลนั้น มีหลักอยู่ว่าทำเลใดก็ตามยิ่งมีกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้มาก และหลากหลายเท่าไร จะเป็นผลให้ทำเลนั้น มีความน่าสนใจมากขึ้น
3. ใครเป็นผู้อยู่อาศัยในทำเลนั้น 
เพื่อนบ้านมีความเกี่ยวพันความความสุขและความสงบในการอยู่อาศัยอย่างมาก   เพื่อนบ้านที่ดีและมีคุณภาพ เป็นส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้ทำเลบางทำเลกลายเป็นทำเลที่น่าสนใจไปได้ ในทางกลับกัน ก็อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้ทำเลที่น่าจะดีบางแห่ง กลับกลายเป็นทำเลที่ไม่น่าสนใจไปได้เช่นกัน ดังนั้น จึงควรต้องตรวจสอบให้ทราบแน่ชัดว่า ทำเลบ้านที่เราสนใจนั้น ใครเป็นผู้อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น เป็นคนดีและมีคุณภาพมากน้อยเพียงใด 
4. ความปลอดภัยในทรัพย์สินและการอยู่อาศัย
เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวพันกับความสงบสุขในการอยู่อาศัยมาก จึงไม่ควรมองข้ามประเด็นนี้ไป การเลือกทำเลจำเป็นต้องมีการตรวจสอบดูประวัติอาชญากรรม ในบริเวณนั้นว่า มีจำนวนและความถี่มากน้อยเพียงใด ทั้งนี้ การตรวจสอบอาจทำได้โดยการตรวจเช็คกับสถานีตำรวจและจากการพูดคุยสอบถามกับผู้อยู่อาศัยในบริเวณนั้นก็ได้

5. ความสะดวกในการเดินทางเข้าถึง
คือ ดูความใกล้ ไกล ในการเดินทางไปถึง ปกติแล้วทำเลที่อยู่ไกล และมีความไม่สะดวกในการเดินทาง มักมีผลกระทบในทางลบตามมาหลายเรื่อง ตั้งแต่เรื่องค่าใช้จ่ายในการเดินทาง การเสียเวลา และขาดความสะดวกในการทำกิจกรรมต่างๆ รวมถึงข้อจำกัดในการเข้าถึงบริการต่างๆ ทั้งของภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งทำให้กระทบต่อมูลค่าของทำเลในที่สุด

6. เศรษฐกิจในบริเวณนั้น 
บริเวณที่สามารถนำมาพัฒนาทำประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจได้มากกว่า ทำเลนั้นก็มักจะมีมูลค่าที่สูงกว่าเสมอ ดังนั้น จึงควรพิจารณาตรวจสอบกิจกรรมทางธุรกิจที่เป็นส่วนประกอบของเศรษฐกิจในท้องที่ให้ทราบอย่างแน่ชัด
7. ประเภทของบ้านที่มีอยู่ในบริเวณนั้น
โดยดูว่าเป็นบ้านเดี่ยว ตึกแถว ทาวน์เฮาส์ คอนโดมิเนียม หรืออพาร์ทเมนท์ ประเภทบ้านในแต่ละทำเล เป็นตัวบ่งบอกให้ทราบถึงประเภทและคุณภาพของผู้อยู่อาศัยในบริเวณนั้นได้เป็นอย่างดี และมักมีผลเกี่ยวพันต่อสภาพแวดล้อมของทำเลไปโดยปริยาย ยกตัวอย่างเช่น  ถ้าบ้านในบริเวณนั้นทั้งหมดเป็นบ้านเดี่ยวที่มีขนาดพื้นที่ ค่อนข้างใหญ่ จะมีผลทำให้ทำเลนั้นเป็นพื้นที่ที่มีความสงบในการอยู่อาศัยมากกว่าพื้นที่ใน ย่านที่เป็นทาวน์เฮาส์และคอนโดมิเนียม หรือ อพาร์ทเมนท์
8. ค่าครองชีพสูงหรือต่ำมากน้อยเพียงใด
ปัจจัยค่าครองชีพมีความเกี่ยวพันกับการอยู่อาศัยโดยตรงทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งไม่ควรมองข้ามประเด็นนี้ไป ปกติแล้ววิธีง่ายๆ ในการตรวจเช็คค่าครองชีพว่าสูงหรือต่ำมากน้อยเพียงใด จะอาศัยการเปรียบเทียบราคาของใช้จำเป็นในร้านค้าท้องถิ่น เช่น ราคาก๊าซ  ราคายา ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าบริการดูแลความสะอาดบ้าน และบริการอื่นๆ ว่ามีราคาสูงต่ำมากน้อยเพียงใด เมื่อเทียบกับบริเวณอื่น
9. สิ่งอำนวยความสะดวกและบริการภาครัฐ
ทำเลที่สามารถใช้บริการต่างๆ เหล่านี้ได้มากกว่า ย่อมหมายถึงประโยชน์ส่วนเพิ่มที่จะตกอยู่กับผู้อยู่อาศัยในทำเลเหล่านั้นไปโดยปริยาย สิ่งอำนวยความสะดวกและบริการภาครัฐเหล่านี้ เช่น ประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ โรงพยาบาล สถานีตำรวจ สถานีดับเพลิง ตลาด โรงเรียน ห้องสมุด สวนสาธารณะ ศูนย์สุขภาพ ขนส่งมวลชน และท่อระบายน้ำ เป็นต้น
10. พื้นที่หรือทำเลมีข้อจำกัดอะไรบ้าง
เป็นการตรวจสอบเพื่อใช้เปรียบเทียบความคล่องตัวในการทำประโยชน์ของทำเลแต่ละ ทำเล เพราะทำเลบางทำเลอาจมีข้อจำกัดในการปลูกสร้าง หรือข้อจำกัดในเรื่องการใช้ประโยชน์ จากกฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นจากหน่วยงานต่างๆ ของภาครัฐได้

วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ด้านใดได้บ้าง

 ด้านเศรษฐกิ เพื่อช่วยเหลือในการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ เช่น การวางแผนการใช้ทรัพยากรในการผลิต การวิเคราะห์ความพร้อมของวัตถุดิบและแรงงาน รวมถึงความต้องการของประชากรในแต่ละพื้นที่จากข้อมูลพื้นฐาน
 
ด้านคมนาคมขนส่ง  GIS สามารถใช้ในการเพิ่มประสิทธิผลทางด้านการคมนาคมขนส่ง เช่น การวางแผนเส้นทางการเดินรถประจำทาง การวางแผนการสร้างเส้นทางคมนาคม ทางรถไฟ ทางด่วน ทางเดินเรือและเส้นทางการบิน ฯลฯ ได้เป็นอย่างดี


ด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน การจัดสาธารณูปโภคพื้นฐานไปยังพื้นที่ต่างๆ ตามความต้องการของประชาชนนั้น GIS ได้เข้ามามีบทบาทอันสำคัญในการวางแผนในการสร้างถนน การเดินสายไฟฟ้า ท่อประปา รวมถึงการวางแผนในการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคพื้นฐานเหล่านี้


ด้านการสาธารณสุข การประยุกต์ใช้ GIS ในการบริหารจัดการภาครัฐกับงานทางด้านสาธารณสุข มีใช้กันอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ เช่น การระบุตำแหน่งของผู้ป่วยโรคต่างๆ การวิเคราะห์การแพร่ของโรคระบาด หรือแนวโน้มการระบาดของโรค ซึ่งการประยุกต์ใช้ GIS จะช่วยให้ผู้บริหารสามมารถวางแผนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางด้านสาธารณสุขได้อย่งมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น


ด้านการบริการชุมชน จะเกี่ยวข้องในส่วนของการให้บริการของรัฐกับประชาชนโดยทั่วๆไป ซึ่งประชาชนในแต่ละพื้นที่ จะมีความต้องการบริการจากภาครัฐกับประชาชนโดยทั่วๆไป ซึงประชาชนในแต่ละพื้นที่ จะมีความต้องการบริการจากภาครัฐแตกต่างกันไป การใช้ GIS จะช่วยให้ผู้บริหารทราบถึงความต้องการของ ประชาชนโดยการให้บริการสาธารณะได้อย่างเป็นพลวัตร  


ด้านการบังคับใช้กฎหมายและการป้องกันอาชญากรรม มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น การกำหนดจุดเสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรมเพื่อตั้งป้อมตำรวจ การวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรม โดยการบันทึกจุดที่เกิดอาชญากรรมไว้ แล้วนำมาวิเคราะห์หาพื้นที่เสี่ยง ซึ่งเจ้าหน้าที่ผู้รักษากฎหมายสมารถวางแผนให้ความสำคัญกับบางพื้นที่ที่ต้องทำการดูแลเป็นพิเศษ เพื่อลดปัญหาอาชญากรรมได้ 


ด้านการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน การประยุกต์ใช้ GIS เพื่อช่วยในการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นหนึ่งในกิจกรรมการประยุกต์ใช้ GIS ที่แพร่หลายที่สุด เพราะความสามารถในการวิเคราะห์ ประเมินผล ปละนำเสนอข้อมูลต่างๆในเชิงพื้นที่ที่จำเป็นต่อการวางผังเมือง และการจัดการเมืองสมารถกระทำได้อย่างสะดวก ทั้งการวิเคราะห์และประเมินศักยภาพในการใช้ประโยชน์ของแต่ละพื้นที่
ด้านการจัดเก็บภาษี การประยุกต์ใช้ GIS เพื่อช่วยในการจัดเก็บภาษี โดยอาศัยข้อมูลแผนที่มาตราส่วนขนาดใหญ่ เช่น 1:1,000 ซึ่งสมารถมองเห็นขอบเขตของอาคาร เพื่อใช้ในการนำเข้าข้อมูลการชำระภาษีอากร ซึ่งภาครัฐสามารถทำการติดตาม ตรวจสอบผลการจัดเก็บภาษีได้โดยสะดวก เพราะ ข้อมูลของสถานประกอบการ บ้านเรือน ฯลฯ ที่ชำระค่าภาษีอากรต่างๆ แล้วจะสามารถแสดงให้เห็นความแตกต่างได้โดยเฉดสีบนแผนที่ ทำให้สามารถค้นหา หรือติดตามการชำระภาษีอากรได้สะดวก และทำให้การจัดเก็บภาษีมีประสิทธิภาพมากขึ้น


ด้านสิ่งแวดล้อม การประยุกต์ใช้ GIS เพื่อทดลองสร้างแบบจำลองทางด้านสิ่งแวดล้อม มีใช้กันอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ เช่น การสร้างแบบจำลองสามมิติแสดงการถล่มของภูเขา ซึ่งการสร้างแบบจำลองใน GIS จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถทำความเข้าใจกับลักษณะของพื้นที่ได้โดยง่าย และเป็นการเพิ่มการรับรู้แบบเสมือนจริงในรูปแบบของแบบจำลองสมมิติ ซึ่งช่วยลดความผิดพลาดในการตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้น ส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างยิ่ง


ด้านการจัดการภาวะฉุกเฉินและภัยพิบัติ สิ่งที่จำเป็นมากที่สุดในการจัดการในสภาวะฉุกเฉิน คือ การรับรู้ข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องให้มากที่สุด เพื่อทำการตัดสินใจให้เร็วที่สุดผิดพลาดน้อยที่สุด และมีประสิทธิผลมากที่สุด GIS ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลในเชิงพื้นที่ได้อย่างทั่วถึงในเวลาอันรวดเร็ว รวมถึงรายละเอียดต่างๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจำเป็นต่อมาตรการในการป้องกันแก้ไข นอกจากนี้ยังใช้ GIS วิเคราะห์ถึงผลกระทบต่างๆที่อาจเกิดขึ้นอยู่ในรัศมีของการได้รับผลกระทบจากสารพิษ เป็นต้น รวมทั้งวิเคราะห์ทิศทางวางแผนอพยพผู้คน เส้นทางในการเคลื่อนย้าย การขนส่ง และเพื่อกำหนดนโยบายและกลยุทธ์ในการป้องกัน การวางแผนการ
ช่วยเหลือ ทำการวิเคราะห์หรือสร้างภาพจำลองของเหตุการณ์เพื่อหาสาเหตุได้ทันที่ ตามสภาพของข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา


จาก กลุ่มภูมิสารสนเทศประมง